วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

CSR







ความรับผิดชอบต่อสังคมของเคเอฟซี

ส่วนความรับผิดชอบต่อสังคมของเคเอฟซีส่วนใหญ่มุ่งมั่นด้วยวิธีการที่เราจะทำให้ชีวิตดีขึ้น คล้ายกลับ Slogan หลักของ KFC ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ SO GOOD โดยมุ่งเน้นที่การสนับสนุนจากชุมชนในโรงเรียนมัธยมท้องถิ่นและฉลองโลกสัปดาห์บรรเทาความหิว และบริษัท ยังมุ่งการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมุ่งเน้นไปที่ความคิดริเริ่มรีไซเคิลขยะ 



นักวิชาการ KFC 
สนับสนุนโรงเรียนมัธยมกับผู้ประกอบที่มีความเพียรพยายาม ขวนขวาย แสดงให้เห็นถึงความต้องการทางการเงินและผู้ที่ต้องการที่จะศึกษาระดับวิทยาลัยที่สถาบันได้รับการรับรองในสถานะที่พวกเขาอาศัยอยู่
Kentucky Fried Chicken มูลนิธิได้รับรางวัลภาคภูมิใจกว่า $ 10 ล้านในทุนการศึกษาที่ให้นักเรียนที่สมควรได้รับในช่วง 7 ปี ขณะนี้มีเกือบ 300 ใช้งาน KFC ผู้รับทุนการศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกามีนอกจากนี้ยังมีมากกว่า 200 นักวิชาการที่ได้จบการศึกษาและย้ายไปยังบัณฑิตวิทยาลัยหรือที่จะเริ่มต้นอาชีพของพวกเขาเคเอฟซีมูลนิธิมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมทุนการศึกษา



พิสูจน์ให้เห็นว่ายังคงมีความคิดใหม่ ๆ ออกมา kfc ได้เปิดตัววิดีโอไวรอลใหม่และพยายามสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการใช้ศิลปินจิตรกรรมฝาผนังชื่อ ฟิลแฮนเซน ที่ใช้มือและเท้าของเขาละเลงซอสเทอริยากิแสนอร่อยเพื่อสร้างภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยซอส

แล้วประมูลภาพจิตรกรรมฝาผนังบนอีเบย์ในเร็ว ๆ นี้เพื่อระดมทุนเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่วิทยาลัย 

ตัวอย่างคลิป viral 




concept "ขยายครอบครัวของคุณ"





เพื่อชีวิตที่ดีเมื่อความสุขของสมาชิกในครอบครัวของเคเอฟซีประกายความสุข รวมถึงครอบครัวอื่นๆในกิน KFC




ความแตกต่างในการบริโภค KFC




ระหว่าง ผู้หญิงกับผู้ชาย

          พูดถึงเรื่องนี้เกี่ยวกับการกระจายของบทบาททางอารมณ์ระหว่างเพศ
วัฒนธรรมของผู้ชาย  : มีการแข่งขัน, แน่วแน่, วัตถุนิยม
วัฒนธรรมของผู้หญิง : วางมูลค่ามากขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และคุณภาพชีวิต

ผลกระทบ:
ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมสำคัญที่สูงในความแตกต่างทางเพศในครอบครัวและอายุแบบดั้งเดิมในขณะที่วัฒนธรรมของผู้หญิงที่เน้นการเบลอของภาพของบทบาททางเพศ

          ภาพจริงกับรูปแบบของผู้หญิงรวมทั้งครอบครัวจะเป็นที่ต้องการในประเทศที่เป็นผู้หญิงมาก
และวัฒนธรรมที่โดดเด่นชายจะชอบภาพที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันการประชุมประสบความสำเร็จความพึงพอใจส่วนบุคคล ฯลฯ
ตัวชี้วัดที่เป็นสัญลักษณ์และที่มาของความสำเร็จและวัตถุประสงค์ที่จะเป็นที่ต้องการในประเทศที่ MAS สูงในขณะที่กิจกรรมทางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์จะมีมูลค่าในวัฒนธรรม MAS ต่ำ



            KFC – AustriaKFC                         KFC  – Denmark                                       

          ด้วยที่ ออสเตรียเป็นวัฒนธรรมความเป็นชายสูง สังคมเป็นสังคมแบบเด็ดขาดและชอบการประสบความสำเร็จและความพึงพอใจส่วนตัว มีให้เห็นในเว็บไซต์ KFC ออสเตรียที่จะโผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจนในหน้าแรก

          ในทางตรงกันข้ามเดนมาร์กจะเป็นวัฒนธรรมของผู้หญิง สังคมดังกล่าวให้ความห่วงใยสำหรับคนอื่น ๆ และคุณภาพชีวิตเว็บไซต์เคเอฟซีสำหรับเดนมาร์กทำให้เห็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่มีสีอ่อนและไอคอนของผู้หญิง  หน้าแรกของวิดีโอไฮไลท์ที่กิจกรรมทางสังคมและการดูแลสังคมที่โดดเด่น ภาพที่ใช้ยังแนะนำให้บริโภคอาหารกับเพื่อน ๆ






วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คู่แข่ง




คู่แข่งหลักของ KFC



        KFC ซึ่งผู้นำด้านเมนูอาหารไก่ทอดมาโดยตลอด จนกระทั่ง ช่วงหลัง พยายามจะขยายผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากขึ้น โดยนำสิ่งที่ตัวเองถนัด คือ เรื่องไก่ทอด มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ไก่ป๊อป ปีกไก่แดนซ์ ฟิชฟิงเกอร์ กุ้งสติ๊ก ชีสหนึบ สลัด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับแมคโดนัลด์ ที่เป็นเจ้าตลาดเบอร์เกอร์ ด้วยสัดส่วนการตลาดถึง 80% ซึ่งถือว่าห่างไกลกับ KFC มาก

          ในขณะเดียวกัน แมคโดนัลด์ ก็ยังรุกมายังตลาดไก่ทอดที่ KFC เป็นเจ้าตลาดอยู่เช่นกัน ถ้าจะเปรียบมวย ก็ถือว่าสูสีมาก เพราะต่างคนต่างมีตลาดหลักที่ตัวเองเป็นผู้นำอยู่ และพยายามจะรุกมายังตลาดของอีกฝ่าย

          ความยากของ KFC คือ การทำให้ผู้บริโภครับรู้ว่า KFC ไม่ได้ขายแค่ไก่ทอดอย่างเดียว ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีเมนูที่หลากหลาย ที่ผู้บริโภค ก็ยังมีภาพในใจว่า KFC คือร้านขายไก่ทอด ผลิตภัณฑ์ต่างๆในร้าน ถึงแม้จะมีหลายประเภท แต่วัตถุดิบหลักก็ยังคงเป็นไก่ทอด 

          ในขณะที่คู่แข่งอย่างแมคโดนัลด์ มีความหลากหลายมากกว่าในเรื่องของวัตถุดิบ เช่น เนื้อ หมู ปลา ไก่ ซึ่งสะท้อนไปยังการรับรู้ของผู้บริโภคในเรื่องของความหลากหลาย จึงไม่ใช่เรื่องยากในการขยายผลิตภัณฑ์เพื่อไปจับตลาดอื่นๆ

          นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินในการการเลือกซื้อหรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของปริมาณเนื้อสัตว์ที่เป็นส่วนผสมหลัก เพราะผู้บริโภคไม่ได้สนใจว่า เบอร์เกอร์ไก่ จะมีเนื้อไก่กับแป้ง ผสมกันในสัดส่วนเท่าไหร่ ทำให้ Key Message ที่ทาง KFC ตั้งใจจะสื่อสารออกไป ไม่โดนใจผู้บริโภคอย่างที่บริษัทคาดหวัง และไม่เพียงพอที่จะทำให้ความเป็นผู้นำตลาดเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์เปลี่ยนแปลงได้ และคาดการณ์ได้ว่า ทางแมคโดนัลด์จะต้องมี โปรแกรมสื่อสารการตลาดที่โต้ตอบกับ KFC ออกมาอย่างแน่นอน






กลยุทธ์การโฆษณาและตกแต่งร้าน KFC



การโฆษณาของ KFC

เนื่องจาก KFC เป็นอาหารขยะ แต่ต้องการให้รู้สึกว่า KFC พยายามเน้นให้เห็นความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว กินไก่พร้อมกันทั้งครอบครัว รวมถึงเพื่อน พี่ น้อง ญาติมิตร กินหมดแล้วก็มีไก่ชิ้นใหม่ให้กินอีก กินเยอะๆ แล้วมีความสุข อยากกินไก่แบบนี้ทุกวัน และการบริการที่ดีของ KFC ที่สามารถสั่งบริการส่งถึงบ้าน ซื้อกลับไปกินที่บ้านด้วยความสะดวก



จนปัจจุบัน KFC สร้าง AD เพื่อเน้นให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์และ slogan “so good”




สไตล์การตกแต่งร้านของ KFC

KFC จะมุ่งเป้าพัฒนาตนเอง ไม่ให้เป็นเพียงแค่ร้านขายไก่ทอด และเฟรนช์ฟรายเท่านั้น และจากการสำรวจ consumer inside มาพบว่า Consumer Expectation สูงขึ้น เขาไม่ต้องการแค่ความรวดเร็ว อร่อย เท่านั้น ประสบการณ์คือสิ่งที่เขาต้องการเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้นอกเหนือจาก Brand as a product as a person แล้วยังรวมถึง Brand as an experience อีกด้วย

การตกแต่งร้านจะแบ่งตามโซน ดังนี้

Dining Zone หรือโซนสำหรับลูกค้าที่ต้องการรับประทานอาหารอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โต๊ะสี่เหลี่ยม เก้าอี้มีผนักพิงสีขาว ถูกจัดวางไว้อย่างเรียบง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการรับประทานอย่างเต็มรูปแบบ รองรับกลุ่มครอบครัว

Snacking Zone เป็นโซนสำหรับลูกค้าที่ต้องการ light Meal หรืออาจมานั่งรอนัดหมายกับเพื่อน ดื่มน้ำ ลิ้มรสเฟรนช์ฟรายด์ เก้าอี้ที่โซนนี้จึงเป็นรูปแบบของ Lounge Chair สีแดง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและสบายๆ

Big Group Dining Zone แบ่งดีไซน์ออกเป็น 2 แบบ เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นซึ่งนิยมมากับเพื่อนฝูง ออกแบบจาก Consumer Insight ที่นักเรียน นักศึกษา มักจะมีพฤติกรรมการจับจองโต๊ะที่นั่งด้วยกระเป๋าโละหนังสือ แบบแรกจึงออกแบบเป็นโต๊ะและเก้าอี้สตูลสูงสีขาว ให้ความรู้สึกเหมือนโต๊ะในแคนทีน อีกแบบเป็นโต๊ะและสตูลเตี้ยๆ สีน้ำตาลจัดวางอยู่ด้านข้างเคาน์เตอร์

Outdoor Zone เป็นโซนที่ไม่ได้อยู่ใน Global Manual แต่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองในไทยโดยต้องการให้เป็นลักษณะของ Caf? Outdoor เก้าอี้โครงสเตนเลสพนักพิงและที่นั่งเป็นไม้กับโต๊ะกลม ผนวกกับพื้นไม้ลามิเนตให้ความรู้สึกไม่เคร่งเครียด ดูอบอุ่น ทั้งยังสบายตาด้วยกระถางต้นไม้สีน้ำตาลอ่อนทรงกรวยสี่เหลี่ยมสูงที่ตั้งเรียงรายอยู่ด้านนอก

Booth Zone  ที่นั่งเหมือนโบกี้รถไฟ รองรับกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการ Private Space


ใช้กระจกใส

ผนังกระจกเผยให้เห็นบรรยากาศพื้นที่ร้านได้อย่างเด่นชัด เพื่อให้เห็นการตกแต่งภายในร้านได้อย่างชัดเจน ผนังภายนอกของร้านจึงเป็นกระจกใสขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นแผงแกรนิตที่ทึมทึบซึ่งดูปิดกั้นทำให้ไม่น่าเข้า



พลังแห่งสี

ใช้สีแดงเป็นหลัก เนื่องจาก เป็น 1 ใน Brand Essence ของ KFC
“KFC เลือกจุดที่จะต้องเป็นจุดปะทะของสายตาเป็นหลัก โดยเฉพาะบริเวณทางเข้า โลโก้และเคาน์เตอร์ เป็นต้น
ขณะที่ Secondary Color ถูกเลือกใช้เพิ่มเติม เป็นกลุ่มโทน Neutral Color อาทิ สีครีม ขาว และน้ำตาลอ่อน ซึ่งจะใช้ในเก้าอี้และโต๊ะบางส่วน ตลอดจนพื้นและผนังบางจุด เพื่อให้บรรยากาศของร้านดูมีชีวิตชีวาและไม่จำเจจนเกินไป และเพื่อไม่ให้ลูกค้ามองว่า KFC ไม่ใช่อะไรๆ ก็สีแดงไปหมดทุกสิ่งอย่าง

ผนังมีชีวิต

Mural พิมพ์ลาย Original Recipe อวดโฉมอยู่บริเวณด้านข้างเคาน์เตอร์ นี่เป็นอีกหนึ่งใน Brand Essence ที่ขาดไม่ได้ เพื่อตอกย้ำถึงจุดเด่นในเรื่องของการเป็นไก่ทอดสูตรต้นตำรับอันเป็นตำนานแห่งความสำเร็จที่ส่งผ่านมาถึงปัจจุบัน ขณะที่อีกด้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันเป็น Mural สีแดงเล่นลวดลายกราฟิกแต่ไม่วายมีโลโก้ KFC ให้เห็น ส่วน Lifestyle Mural บริเวณโซนที่นั่งแบบ Booth เป็นรูปหนุ่มสาวหัวเราะอย่างเบิกบาน สะท้อนถึงความสุขสนุกสนานของช่วงเวลาที่ใช้ในร้าน KFC และเพื่อสร้าง Emotional Touch กับลูกค้า



ตามรอยดีไซน์ขั้นเทพ

สำหรับรูปแบบร้านในอนาคต อาจเห็นร้านเปรี้ยวๆ มันส์ๆ ตกแต่งแบบ Trendy for Young Adult แบบ KFC สาขาฌองเอลิเซ่ ซึ่งเป็นสาขาที่มียอดขายสูงที่สุดของ KFC ทั่วโลก และเป็น World Flagship Store ภายในร้านมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับลูกค้าต่างโปรไฟล์อย่างชัดเจน บางโซนตกแต่งเหมือน Underground Pub ด้วยไลท์ติ้งหลากสีสัน นอกจากนี้ยังมีบริการเสริมด้วยตู้เวนดิ้งหยอดเหรียญตั้งอยู่ตรงกลางร้านสำหรับลูกค้าที่ต้องการ Self Service และมี Attitude Board พร้อมกล้องถ่ายรูปให้วัยรุ่นมาถ่ายรูปตัวเองและโพสต์ข้อความติดบนบอร์ดถึงเพื่อนๆ




วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

KFC RE BRANDING



Logo KFC

              สร้างเป็นโลโก้ลักษณะนี้เนื่องจาก ผู้ที่สร้างแบรนด์หรือคิดสูตรไก่ทอด KFC ขึ้นมาคือ พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส หรือ ผู้พัน แซนเดอร์ส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เป็เอกลักษณ์และบ่งบอกถึงความเป็นแบรนด์ที่มีประวัติ ของชีวิตของ ผู้พัน แซนเดอร์ส



การ RE BRANDING ของ KFC

                   การ RE BRANDING ของ KFC มีการปรับเปลี่ยนโลโก้มาเรื่อยๆ แต่ปรับเปลี่ยนไปไม่มากนัก จะเห็นดังรูป  เพื่อให้สอดคล้องและเข้ากับยุคสมัยและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน


และปัจจุบัน KFC ใช้โลโก้และสโลแกน SO GOOD




ช่องทางสื่อสารทางการตลาดและ 4P'S ของ KFC


ช่องทางการตลาด

Home delivery

          ช่องทางขายของตลาดโฮมดีลิเวอรี่หรือบริการส่งถึงบ้าน จะยังเป็นตลาดที่เล็ก แต่อัตราการเติบโตของตลาดนี้มีสูงมาก ช่องทางการขายโดยให้บริการส่งถึงบ้านจัดว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้ช่องทางการขายโดยให้บริการส่งถึงบ้านนั้น แม้ว่าจะไม่ได้มีมูลค่ามากมายเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวม แต่ช่องทางนี้ถือว่าเข้ากับยุคสมัยได้เป็นอย่างดี แต่ KFC ไม่ได้ทำธุรกิจหลักในตลาดนี้ ตลาดหลักของ KFC อยู่ที่ร้านอาหาร แต่ KFC ต้องทำตรงนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า เป็นการทำตลาดเสริม




HOME PAGE KFC

          KFC เปิดโฮมเพจของตัวเองอย่างเต็มรูปแบบด้วยรูปลักษณ์และเทคโนโลยีสื่อสารสองทาง (two-way communications) ที่ทันสมัยที่สุด มีกราฟฟิกสีสันสดใสทั้งแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยสามารถเลือกรับข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีหน้าข้อมูลประมาณ 30 หน้า มีข้อมูลประวัติความเป็นมาของ KFC ชุดเมนูใหม่ รายการส่งเสริมการขาย ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ สาระน่ารู้อื่นๆ และเกมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก ตลอด จนให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ซึ่งสามารถเปิดเข้าไปได้ที่  http://www.kfc.co.th
          ทั้งนี้การเปิดให้บริการส่งถึงบ้าน โดยสั่งอาหารผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น อาจจะมีกลุ่มลูกค้าขนาดเล็ก จำกัดเฉพาะผู้เล่นอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการขยายบริการโฮมดีฯ อีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับกลุ่มคนเล่นอินเตอร์เน็ตที่อยากจะรับประทานอาหาร แต่ก็ไม่อยากละสายตาออกจากหน้าจอ




การทำประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย

   มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ ตามร้าน KFC และใน WEB PAGE ใน internet เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึง และมีการจัดทำ PROMOTION เสริมอยู่ตลอดเวลา เพื่อสร้างความสนใจให้แก่ลูกค้า


KFC - 4P'S 


Product
  
                    ในส่วนสินค้าของทางด้าน KFC นั้น สิ่งหลัก ก็คือไก่ทอด  ไก่ที่นำมาใช้ จะผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ทุกขั้นตอนการผลิตจะมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่การสรรหาและพัฒนาพันธุ์ที่ดี การผลิตอาหารสัตว์ตามหลักโภชนาการสัตว์ การเลี้ยงการจัดการ ไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารก่อนส่งมอบให้ลูกค้า และได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกมากมายทั้ง GMP, HACCP, ISO9002, ISO14001, TIS18001, ISO/IEC17025, BRC รวมถึง HALAL ซึ่งลูกค้า สามารถที่จะมั่นใจได้ว่า ไก่ทอดของร้าน KFC เป็นไก่ทอดที่มีมาตรฐาน และคุณภาพ



Price

                     ทางด้านราคาของสินค้าในร้านค้า KFC ใช้กลยุทธการตั้งราคาสูงแต่ไม่สูงมากจนเกินไป เพื่อยกระดับร้านอาหาร Fast Food ภายในประเทศ ที่ส่วนมากจะอยู่ในห้างสรรพสินค้า และเพื่อไม่ให้คนมองว่าอาหารเหล่านี้เป็นอาหาร Junk Food หรืออาหารขยะ

Place

                   มีการขยายสาขาไปมากขึ้นๆเรื่อยๆ จนในขณะนี้ มีจำนวนสาขามากกว่า 13,000 แห่ง ใน 80 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ร้านของ KFC มักจะมีทำเลอยู่ในแหล่งชุมชน อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า ตามปั้มน้ำมัน และที่พักระหว่างทาง เป็นต้น


Promotion
  
                    ในส่วนของการส่งเสริมการขายของทาง KFC นั้น ค่อนข้างที่จะหลากหลาย สิ่งแรกคือการทำเกี่ยวกับเมนูพิเศษ ให้มีความน่าสนใจ มีการจัดทำชุดต่างๆ เพื่อสามารถให้ผู้สั่งสะดวก อีกทั้งชุดเหล่านั้นยังมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ในส่วนถัดมาคือ การโฆษณาทางโทรทัศน์ การแจกใบปลิว เป็นต้น




การกำเนิดของ KFC


ผู้พันแซนเดอร์ส ตำนาน KFC


- 1890
ตำนานความอร่อยของไก่ทอด KFC เริ่มต้นโดย พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ท่านถือกำเนิดขึ้นในเมืองคอร์บิน มลรัฐเคนตั๊กกี้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ในปี 1890
- 1930
ในช่วงปี 1930 พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส เริ่มปรุงไก่ทอดที่แสนอร่อย ให้แก่นักเดินทางทั่วไป ที่มาหยุดพักรับประทานอาหาร ที่ร้านของท่านในเมือง คอร์บิน มลรัฐเคนตั๊กกี้


- 1939
ชื่อผู้พันแซนเดอร์สเริ่มเป็นที่รู้จัก ในปี 1939 พันเอก ฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ได้รับเกียรติจากมลรัฐเคนตั๊กกี้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้พัน เคนตั๊กกี้ แทนความยินดีจากผู้ว่ามลรัฐ เคนตั๊กกี้ที่ท่าน ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่รัฐ เพราะท่านได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เพื่อคิดค้นสูตรไก่ทอดที่แสนอร่อย โดยนำไก่ มาคลุกเคล้ากับเครื่องเทศ 11 ชนิด และใช้วิธีพิเศษ ของการทอดด้วยเตาทอดระบบ ความดัน เพื่อรักษา รสชาติ หอมอร่อยของไก่
- 1950
ด้วยความมั่นใจในรสชาติ และคุณภาพของไก่ทอด ในปี 1950 ผู้พันเริ่มออกเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกา และแคนาดาด้วยตัวท่านเองจากร้านหนึ่งไปสู่อีก ร้านหนึ่ง เพื่อขายแฟรนไชส์ ธุรกิจของท่าน
- 1955
ในปี 1955 ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ได้ก่อตัวขึ้นในรูปบริษัท เป็นครั้งแรก โดยผู้ก่อตั้งคือผู้พันแซนเดอร์ส
- 1964
มาในปี 1964 ผู้พันแซนเดอร์สได้ขายกิจการ ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ให้แก่ กลุ่มนักลงทุนมืออาชีพที่มี Jack Massey และ John Y. Brown Jr. เป็นแกนนำ
- 1978
เพื่อรักษาไก่ทอดเคนตั๊กกี้ ให้คงคุณภาพและรสชาติ แบบดั้งเดิม จึงมีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติของ KFC ขึ้นในปี 1978 โดยมีผู้พันแซนเดอร์สเป็น ผู้ตรวจสอบการรักษารสชาติ ของไก่ทอดเป็นหม้อแรก จากพีท ฮาร์แมน ผู้ที่ได้แฟรนไชส์เป็นรายแรก
- 1980
แล้วในปี 1980 ผู้พันแซนเดอร์สก็ถึงแก่กรรมท่านอายุได้ 90 ปี ร่างของท่านถูกนำไปตั้ง ณ ที่ทำการของเมืองหลวง มลรัฐเคนตั๊กกี้ และจากนั้นได้ถูกนำไปฝังที่สุสาน เดฟฮิลล์ เมืองหลุยวิลล์
- 1999
ในปัจจุบัน KFC มีเครือข่ายของร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีร้านที่ให้บริการอาหาร และของว่างมากกว่า 29,500 แห่ง ในกว่า 92 ประเทศทั่วโลก KFC ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของ ผู้พันแซนเดอร์ส ถือเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และยังคงก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ด้วยคุณภาพและสำนึกในความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคม ไม่ว่าท่านจะอยู่ในประเทศใดท่าน จะสามารถสัมผัสและระลึกถึงผู้พัน แซนเดอร์ส ตำนานแห่งไก่ทอดแสนอร่อยของ KFC ได้เสมอ



ชื่อเดิมของ ไก่ KFC คือ คือ Kentucky Fried Chicken เหตุผลที่เปลี่ยนชื่อไปเพราะ
1. เหตุผลแรกที่เปลี่ยนชื่อเพราะ  ในยุคสมัยหนึ่ง ผู้คนหลีกเลี่ยงการทางอาหารทอด เพราะว่าทำให้อ้วน และไขมันสูง (Fired = ทอด) ทำให้ทาง KFC จะต้องเปลี่ยนชื่อและปรับกลยุทธ์ให้ดูว่าทางร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น และยังเป็นการทำให้แบรนด์ดูทันสมัยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2. เหตุผลเรื่องเงิน เพราะในสมัยก่อนนั้น ทางรัฐเคนตั๊กกี้ หากจะใช้ชื่อคำว่า Kentuckey ในแบรนด์ใดก็ตามจะต้องจ่ายค่าชื่อนั้นให้กับรัฐเคนตั๊กกี้ ในอเมริกา ทางKFC ตระหนักดีว่าจะต้องจ่างเงินก้อนนี้เป็นมาหาศาล เพราะใช้ทั่วโลก จึงไม่ต้องการ จะเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้   แต่ความ KFC ทำคุณประโยชน์ให้รัฐนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทำให้ัรัฐเคนตั้กกี้ ทบทวนที่จะไม่เก็บ ค่าใช้ชื่อนี้อีก กับ KFC ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ทาง KFC และรัฐเคนตั๊กกี้ได้มีการเจรจาตกลงร่วมกัน และทำให้ KFC สามารถกลับมาใช้ Kentuckey ได้อย่างเดิม


ตัวอย่างโฆษณา KFC สมัยที่ยังใช้ชื่อ Kentucky Fried Chicken