การโฆษณาของ KFC
เนื่องจาก KFC เป็นอาหารขยะ
แต่ต้องการให้รู้สึกว่า KFC พยายามเน้นให้เห็นความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว กินไก่พร้อมกันทั้งครอบครัว รวม ถึงเพื่อน พี่ น้อง ญาติมิตร กินหมดแล้วก็มีไก่ชิ้นใหม่ให้กินอีก กินเยอะๆ แล้วมีความสุข
อยากกินไก่แบบนี้ทุกวัน และการบริการที่ดีของ KFC ที่สามาร ถสั่งบริการส่ง ถึงบ้าน ซื้อกลับไปกินที่บ้านด้วยความสะดวก
VIDEO
VIDEO
จนปัจจุบัน KFC สร้าง AD เพื่อเน้นให้สอดคล้องกับ ภาพลักษณ์ของแบรนด์และ slogan “so good”
VIDEO
สไตล์การตกแต่งร้านของ KFC
KFC จะมุ่งเป้าพัฒนาตนเอง
ไม่ให้เป็นเพียงแค่ร้านขายไก่ทอด และเฟรนช์ฟรายเท่านั้น และจากการสำรวจ consumer
inside มาพบว่า Consumer Expectation สูงขึ้น
เขาไม่ต้องการแค่ความรวดเร็ว อร่อย เท่านั้น
ประสบการณ์คือสิ่งที่เขาต้องการเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้นอกเหนือจาก Brand as a
product as a person แล้วยังรวมถึง Brand as an experience อีกด้วย
การตกแต่งร้านจะแบ่งตามโซน ดังนี้
Dining Zone
หรือโซนสำหรับลูกค้าที่ต้องการรับประทานอาหารอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
โต๊ะสี่เหลี่ยม เก้าอี้มีผนักพิงสีขาว ถูกจัดวางไว้อย่างเรียบง่าย
เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการรับประทานอย่างเต็มรูปแบบ รองรับกลุ่มครอบครัว
Snacking Zone
เป็นโซนสำหรับลูกค้าที่ต้องการ light Meal หรืออาจมานั่งรอนัดหมายกับเพื่อน
ดื่มน้ำ ลิ้มรสเฟรนช์ฟรายด์ เก้าอี้ที่โซนนี้จึงเป็นรูปแบบของ Lounge Chair
สีแดง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและสบายๆ
Big Group
Dining Zone แบ่งดีไซน์ออกเป็น 2 แบบ เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นซึ่งนิยมมากับเพื่อนฝูง
ออกแบบจาก Consumer Insight ที่นักเรียน นักศึกษา
มักจะมีพฤติกรรมการจับจองโต๊ะที่นั่งด้วยกระเป๋าโละหนังสือ
แบบแรกจึงออกแบบเป็นโต๊ะและเก้าอี้สตูลสูงสีขาว ให้ความรู้สึกเหมือนโต๊ะในแคนทีน
อีกแบบเป็นโต๊ะและสตูลเตี้ยๆ สีน้ำตาลจัดวางอยู่ด้านข้างเคาน์เตอร์
Outdoor Zone
เป็นโซนที่ไม่ได้อยู่ใน Global Manual แต่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองในไทยโดยต้องการให้เป็นลักษณะของ
Caf? Outdoor เก้าอี้โครงสเตนเลสพนักพิงและที่นั่งเป็นไม้กับโต๊ะกลม
ผนวกกับพื้นไม้ลามิเนตให้ความรู้สึกไม่เคร่งเครียด ดูอบอุ่น
ทั้งยังสบายตาด้วยกระถางต้นไม้สีน้ำตาลอ่อนทรงกรวยสี่เหลี่ยมสูงที่ตั้งเรียงรายอยู่ด้านนอก
Booth Zone ที่นั่งเหมือนโบกี้รถไฟ รองรับกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา
ที่ต้องการ Private Space
ใช้กระจกใส
ผนังกระจกเผยให้เห็นบรรยากาศพื้นที่ร้านได้อย่างเด่นชัด เพื่อให้เห็นการตกแต่งภายในร้านได้อย่างชัดเจน
ผนังภายนอกของร้านจึงเป็นกระจกใสขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นแผงแกรนิตที่ทึมทึบซึ่งดูปิดกั้นทำให้ไม่น่าเข้า
พลังแห่งสี
ใช้สีแดงเป็นหลัก เนื่องจาก เป็น 1 ใน
Brand Essence ของ KFC
“KFC เลือกจุดที่จะต้องเป็นจุดปะทะของสายตาเป็นหลัก
โดยเฉพาะบริเวณทางเข้า โลโก้และเคาน์เตอร์ เป็นต้น ”
ขณะที่ Secondary Color ถูกเลือกใช้เพิ่มเติม
เป็นกลุ่มโทน Neutral Color อาทิ สีครีม ขาว และน้ำตาลอ่อน
ซึ่งจะใช้ในเก้าอี้และโต๊ะบางส่วน ตลอดจนพื้นและผนังบางจุด
เพื่อให้บรรยากาศของร้านดูมีชีวิตชีวาและไม่จำเจจนเกินไป
และเพื่อไม่ให้ลูกค้ามองว่า KFC ไม่ใช่อะไรๆ ก็สีแดงไปหมดทุกสิ่งอย่าง
ผนังมีชีวิต
Mural พิมพ์ลาย Original Recipe อวดโฉมอยู่บริเวณด้านข้างเคาน์เตอร์
นี่เป็นอีกหนึ่งใน Brand Essence ที่ขาดไม่ได้
เพื่อตอกย้ำถึงจุดเด่นในเรื่องของการเป็นไก่ทอดสูตรต้นตำรับอันเป็นตำนานแห่งความสำเร็จที่ส่งผ่านมาถึงปัจจุบัน
ขณะที่อีกด้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันเป็น Mural สีแดงเล่นลวดลายกราฟิกแต่ไม่วายมีโลโก้
KFC ให้เห็น ส่วน Lifestyle Mural บริเวณโซนที่นั่งแบบ
Booth เป็นรูปหนุ่มสาวหัวเราะอย่างเบิกบาน
สะท้อนถึงความสุขสนุกสนานของช่วงเวลาที่ใช้ในร้าน KFC และเพื่อสร้าง
Emotional Touch กับลูกค้า
ตามรอยดีไซน์ขั้นเทพ
สำหรับรูปแบบร้านในอนาคต อาจเห็นร้านเปรี้ยวๆ
มันส์ๆ ตกแต่งแบบ Trendy for Young Adult แบบ KFC สาขาฌองเอลิเซ่
ซึ่งเป็นสาขาที่มียอดขายสูงที่สุดของ KFC ทั่วโลก และเป็น World Flagship
Store ภายในร้านมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับลูกค้าต่างโปรไฟล์อย่างชัดเจน
บางโซนตกแต่งเหมือน Underground Pub ด้วยไลท์ติ้งหลากสีสัน
นอกจากนี้ยังมีบริการเสริมด้วยตู้เวนดิ้งหยอดเหรียญตั้งอยู่ตรงกลางร้านสำหรับลูกค้าที่ต้องการ
Self Service และมี Attitude Board พร้อมกล้องถ่ายรูปให้วัยรุ่นมาถ่ายรูปตัวเองและโพสต์ข้อความติดบนบอร์ดถึงเพื่อนๆ